ข้อมูลหลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ
ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ)
วิชาเอก
แขนงวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรมและเครื่องสำอาง (Pharmaceutical and Cosmetic Technology)
การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล
เป็นการเรียนในชั้นเรียน จัดสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ และแบบออนไลน์
ความสำคัญของเนื้อหา
เป็นหลักสูตรที่สร้างบุคลากรที่มีองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญ ทักษะการปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการควบคุมการผลิต และประกันคุณภาพยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนในการผลิตยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
เป้าหมายของหลักสูตร
สร้างมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีความรอบรู้ ทักษะทางการวิจัย และกระบวนความคิดที่เป็นระบบ มีจริยธรรม ใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถบุกเบิกสร้างองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และตระหนักถึงการนำทรัพยากรของประเทศมาประยุกต์ใช้ หรือวิจัยพัฒนาเพื่อให้เกิดมูลค่า โดยดำเนินการผลิตบัณฑิตผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการวิจัยที่เป็นระบบ
ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เพราะ
- เป็นหลักสูตรที่ช่วยในการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน
- เป็นหลักสูตรที่เรียนนอกเวลาทำงาน หรือ online ได้
- ไม่เรียนแค่เพียงทฤษฎี เอาความรู้ไปใช้ได้จริง
โครงสร้างหลักสูตร
การจัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 หลักสูตรปริญญาเอก แบ่งการศึกษาเป็น 2 แบบ คือ | |||
แบบ 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ | |||
แบบ 1.1 | ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จะต้องทำวิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
แบบ 1.2 | ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะต้องทำวิทยานิพนธ์ | 72 | หน่วยกิต |
แบบ 2 ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์ | |||
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 12 หน่วยกิต รวม 48 หน่วยกิต คือ | |||
วิชาบังคับร่วม | 3 | หน่วยกิต | |
วิชาบังคับเฉพาะ | 3 | หน่วยกิต | |
วิชาเลือก | 6 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 36 | หน่วยกิต | |
แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชา 24 หน่วยกิต รวม 72 หน่วยกิต คือ | |||
วิชาบังคับร่วม | 6 | หน่วยกิต | |
วิชาบังคับเฉพาะ | 6 | หน่วยกิต | |
วิชาเลือก | 12 | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | 48 | หน่วยกิต |
รายวิชาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท วิชาบังคับร่วม (3 หน่วยกิต) | หน่วยกิต | ||
วภส.701 ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 2 PSC701 Special Problem in Pharmaceutical and Health Sciences 2 |
1 (0-3-1) | ||
วภส.712 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 3 PSC712 Seminar in Pharmaceutical and Health Sciences 3 |
1 (1-0-3) | ||
วภส.713 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 4 PSC713 Seminar in Pharmaceutical and Health Sciences 4 |
1 (1-0-3) | ||
หมวดวิชาบังคับเฉพาะ แขนงวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 3 หน่วยกิต | หน่วยกิต | ||
วภส.640 หลักการเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ PSC640 Principles of Pharmaceutical Chemistry and Natural Products |
3 (3-0-9) | ||
รายวิชาสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาบังคับร่วม (6 หน่วยกิต) | หน่วยกิต | ||
วภส.700 ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 1 PSC700 Special Problem in Pharmaceutical and Health Sciences 1 |
1 (0-3-1) | ||
วภส.701 ปัญหาพิเศษทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 2 PSC701 Special Problem in Pharmaceutical and Health Sciences 2 |
1 (0-3-1) | ||
วภส.710 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 1 PSC710 Seminar in Pharmaceutical and Health Sciences 1 |
1 (1-0-3) | ||
วภส.711 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 2 PSC711 Seminar in Pharmaceutical and Health Sciences 2 |
1 (1-0-3) | ||
วภส.712 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 3 PSC712 Seminar in Pharmaceutical and Health Sciences 3 |
1 (1-0-3) | ||
วภส.713 สัมมนาทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ 4 PSC713 Seminar in Pharmaceutical and Health Sciences 4 |
1 (1-0-3) | ||
วิชาบังคับเฉพาะ แขนงวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (6 หน่วยกิต) | หน่วยกิต | ||
วภส.600 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองและสถิติ PSC600 Experimental Research Methodology and Statistics |
2 (2-0-6) | ||
วภส.601 เทคนิคและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและสุขภาพ PSC601 Techniques and Instruments in Pharmaceutical and Health Sciences |
1 (0-3-1) | ||
วภส.620 เทคโนโลยีเภสัชกรรมขั้นสูง PSC620 Advanced Pharmaceutical Technology |
3 (3-0-9) | ||
หมวดวิชาเลือก
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ต้องศึกษาวิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องศึกษาวิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ดังนี้ |
หน่วยกิต | ||
วภส.641 การพิสูจน์และหาโครงสร้างของสารอินทรีย์ PSC641 Structure Elucidation of Organic Compounds |
3 (2-3-7) | ||
วภส.642 ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ชีวภาพ PSC642 Bioactive Natural Products |
3 (3-0-9) | ||
วภส.643 เคมีสังเคราะห์ของยา PSC643 Drug Chemical Synthesis |
3 (2-3-7) | ||
วภส.644 การค้นหายาและออกแบบยาในเชิงโมเลกุล PSC644 Molecular Drug Discovery and Drug Design |
3 (3-0-9) | ||
วภส.645 พอลิเมอร์ทางเภสัชกรรม PSC645 Pharmaceutical Polymers |
3 (3-0-9) | ||
วภส.646 เทคนิคทางเภสัชเวท PSC646 Pharmacognosy Techniques |
3 (2-3-7) | ||
วภส.647 เทคนิคการแยกสารสำคัญจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ PSC647 Separation Techniques of Natural Products |
3 (2-3-7) | ||
วภส.648 ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทะเล PSC648 Marine Natural Products |
3 (3-0-9) | ||
วภส.649 หลักการตรวจคัดกรองฤทธิ์ทางชีวภาพ PSC649 Principle of Biological Activity Screening |
3 (2-3-7) | ||
วภส.650 เทคโนโลยีชีวภาพของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ PSC650 Biotechnology of Natural Products |
3 (2-3-7) | ||
วภส.651 การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ PSC651 Research and Development of Medicinal Plants for Health Products |
3 (2-3-7) | ||
วภส.652 แนวทางในการค้นพบสารที่มีศักยภาพเป็นยา PSC652 Approaches in Lead Discovery |
3 (3-0-9) | ||
วภส.653 การวิเคราะห์เชิงความร้อนในการวิเคราะห์ทางเภสัชกรรม PSC653 Thermal Analysis for Pharmaceutical Characterization |
3 (3-0-9) | ||
วภส.654 การตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ยา PSC654 Method Validation in Pharmaceutical Analysis |
3 (2-3-7) | ||
วภส.655 จลนศาสตร์และความคงตัวของยา PSC655 Kinetics and Stability of Pharmaceuticals |
3 (3-0-9) | ||
วภส.656 การวิเคราะห์ยาในชีววัตถุ PSC656 Drug Analysis in Biological Matrix |
3 (2-3-7) |